การแสดง”ฉ่อย”เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ
ขอขอบคุณคณะฉ่อย “โอเล่ การละคร จ.สุพรรณบุรี”
ที่มาแสดง”ฉ่อย ” สร้างองค์ความรู้และความสนุกๆสนานแก่เด็กๆเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติครับ
ฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำตัด โดยมีผู้แสดงประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ฝ่ายละประมาณ 2-3 คน ในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงร้องโต้ตอบกันผู้เล่นคนอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นลูกคู่ การแสดงเพลงฉ่อยจะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ แต่จะใช้การตบมือเป็นจังหวะแทน และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงฉ่อยคือ ลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า “เอ่ ชา เอ้ชา ชา ชาชาชา หน่อยแม่”
ตัวอย่างเช่น (แม่เพลง) เอ่ง เงอ เงย… เรากันหนาเรามาพากันหนี ก็ไปมั่งไปมีมีถมไป เรารักกันหนอมาขึ้นหอลงโรง กุศลไม่ส่งละมันก็ต้องฉิบหาย เอาพระสงฆ์มาเป็นองค์ประธาน สวดเจ็ดตำนานพระก็เหนื่อยแทบตาย พี่มารักน้องคำหนึ่งก็พาสองคำก็พา ของฉันไม่ได้ราคาสองไพ ของฉันราคานะเป็นหมื่นหนอเป็นแสน ของฉันไม่ใช่แหวนหนอจะมาสวมใส่ พี่จะเอาเงินมาดองจะเอาทองมาให้ ถ้าพี่จะเอาอีแปะจนใจน้องจะแกะให้ไม่ได้ พ่อแม่น้องเลี้ยงน้องมายาก เขาจะกินขันหมากน้องให้ได้ (ให้ได้) ถ้ารักน้องจริงจะให้มาสู่ขอกะพ่อแม่ ถ้าพี่ชายมารักแลก็เฉยไป ถ้ารักน้องจริงก็อย่าทิ้งน้องนะ ขอให้คุณพระช่วยเป็นประธานให้ (ลูกคู่รับ) เอ่ ชา เอ๊ ช้า ชา ฉ่า ชา นอย แม่ เอย เพลงฉ่อยมีการแสดงอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)